เมาส์



วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติการโคลนนิ่ง

ประวัติการโคลนนิ่ง
 การทำโคลนนิ่งสัตว์นั้นเริ่มต้นโดยนักชีววิทยาชาวอเมริกัน 2 คน คือ R.W. Briggs  และ  T.J. King แห่งสถาบันวิจัยมะเร็งในฟิลาเดลเฟีย  ทดลองทำโคลนนิ่งกบ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์  ชื่อ Jane  Wilmut  "ได้ทำการโคลนนิ่งแกะโดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะที่โตแล้วเป็นเซลล์ต้นแบบ ได้แกะที่มีชื่อว่า  "ดอลลี"  ซึ่งแกะดอลลีนี้สามารถตั้งท้องและให้กำเนิดลูกได้เช่นเดียวกับสัตว์ทั่วไป
              โคลนนิ่งเป็นอีกกรรมวิธีหนึ่งที่ใช้การขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตและมีข้อได้เปรียบกว่าการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ    กล่าวคือ การโคลนนิ่งจะให้ลูกหลานได้คราวละมากๆ และลูกหลานเหล่านั้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันและเหมือนกับตัวต้นแบบ ส่วนการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้น  ลูกที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันไปและมีความแปรผันแบบกลุ่ม  เราไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าลูกที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะมีลักษณะอย่างไร 
               จากข้อได้เปรียบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะพัฒนากรรมวิธีในการทำโคลนนิ่งสำหรับนำมาใช้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ  เพื่อประโยชน์ของมนุษย์เอง
               ประเทศไทยสามารถทำโคลนนิ่งได้สำเร็จโดยศาสตราจารย์ มณีวรรณ  กมลพัฒนะ  ผู้อำนวยการโครงการนิวเคลียร์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกิจกรรมผสมเทียมโคนม และกระบือปลัก  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  ได้เป็นคนแรก 

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประโยชน์และโทษของการโคลนนิ่ง

ประวัติการโคลนนิ่ง
 การทำโคลนนิ่งสัตว์นั้นเริ่มต้นโดยนักชีววิทยาชาวอเมริกัน 2 คน คือ R.W. Briggs  และ  T.J. King แห่งสถาบันวิจัยมะเร็งในฟิลาเดลเฟีย  ทดลองทำโคลนนิ่งกบ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 นักวิทยาศาสตร์ชาวสก๊อตแลนด์  ชื่อ Jane  Wilmut  "ได้ทำการโคลนนิ่งแกะโดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะที่โตแล้วเป็นเซลล์ต้นแบบ ได้แกะที่มีชื่อว่า  "ดอลลี"  ซึ่งแกะดอลลีนี้สามารถตั้งท้องและให้กำเนิดลูกได้เช่นเดียวกับสัตว์ทั่วไป
              โคลนนิ่งเป็นอีกกรรมวิธีหนึ่งที่ใช้การขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตและมีข้อได้เปรียบกว่าการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศ    กล่าวคือ การโคลนนิ่งจะให้ลูกหลานได้คราวละมากๆ และลูกหลานเหล่านั้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันและเหมือนกับตัวต้นแบบ ส่วนการขยายพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้น  ลูกที่ได้จะมีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกันไปและมีความแปรผันแบบกลุ่ม  เราไม่สามารถกำหนดได้เลยว่าลูกที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศนั้นจะมีลักษณะอย่างไร 
               จากข้อได้เปรียบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามที่จะพัฒนากรรมวิธีในการทำโคลนนิ่งสำหรับนำมาใช้กับสิ่งมีชีวิตต่างๆ  เพื่อประโยชน์ของมนุษย์เอง
               ประเทศไทยสามารถทำโคลนนิ่งได้สำเร็จโดยศาสตราจารย์ มณีวรรณ  กมลพัฒนะ  ผู้อำนวยการโครงการนิวเคลียร์เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมกิจกรรมผสมเทียมโคนม และกระบือปลัก  คณะสัตวแพทย์ศาสตร์  จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย  ได้เป็นคนแรก 

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

การโคลนนิ่ง

 
การโคลนนิ่ง

              โคลนนิ่ง  เป็นกระบวนการทำให้สัตว์ตัวใหม่ขึ้นมาโดยไม่ต้องอาศัยการรวมตัวกันของไข่และสเปิร์ม  มีวิธีการทำโดยการนำเอาเซลล์ไข่ของสัตว์ที่จะโคลนนิ่งมา  นำเอานิวเคลียสของเซลล์ไข่นั้นออกไป  แล้วนำนิวเคลียสจากเซลล์ของสัตว์ที่ต้องการเรียกว่า "เซลล์ต้นแบบ"  มาถ่ายโอนลงไปในเซลล์ไข่นั้นแทน
               ทั้งเซลล์ไข่และเซลล์ต้นแบบต้องมาจากสัตว์ชนิดเดียวกัน  เซลล์ต้นแบบเป็นเซลล์ที่ได้มาจากสัตว์ที่เราต้องการขยายพันธุ์ให้มากขึ้น เรียกว่า "สัตว์ต้นแบบ" ซึ่งเซลล์ต้นแบบนี้อาจจะมาจากอวัยวะส่วนไหนก็ได้  แต่ในทางปฏิบัติเชื่อกันว่าเซลล์จากอวัยวะแต่ละแห่งจะมีความเหมาะสมสำหรับการทำโคลนนิ่งไม่เท่ากัน

วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีการโคลนนิ่ง

วิธีโคลนนิ่งทางวิทยาศาสตร์สามารถทำได้ 2 วิธี คือ 1. การแยกเซลล์หรือตัดแบ่งตัวอ่อนในระยะก่อนการฝังตัว (blastomere separation or embryo bisection )
1.1 การแยกเซลล์ (blastomere separation) หลังปฏิสนธิตัวอ่อนระยะ 1 เซลล์จะมีการแบ่งตัวเป็นทวีคูณ จากหนึ่งเป็นสอง สองเป็นสี่ สี่เป็นแปด เรื่อยๆไป หากต้องการทำแฝดเราสามารถทำโดยการแยกเซลล์เดี่ยวๆ ออกมา เช่น หากเป็น 2 เซลล์ ก็นำมาแยกเป็น 1:1 หรือหากเป็น 4 ก็แยกเป็น 4 ส่วน 1:1:1:1 เป็นต้น อย่างไรก็ตามพบว่าการเจริญเป็นตัวอ่อนปกติหรือตัวเต็มวัยตัวอ่อนหลังแบ่งต้อง ประกอบด้วยเซลล์จำนวนหนึ่งที่เพียงพอ หากแบ่งแล้วไม่พอเพียงก็ไม่สามารถเจริญเป็นตัวอ่อนที่ปกติหรือตัวเต็มวัยได้จึงเป็น ข้อจำกัดที่สำคัญอย่างหนึ่ง
1.2 การตัดแบ่งตัวอ่อน ( embryo bisection ) ตัวอ่อน ระยะมอรูล่า หรือ ระยะบลาสโตซีสสามารถแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆ กัน โดยใช้ใบมีดขนาดเล็ก (microblade) ติดกับเครื่องมือพิเศษที่เรียกว่า “micromanipulator” ข้อแตกต่างของการตัดแบ่งระยะ มอรูล่าและระยะบลาสโตซีส คือ แนวการแบ่ง หากเป็นตัวอ่อนระยะมอรูล่าสามารถแบ่งในแนวใดก็ได้ให้สมดุลย์ (symmetry) แต่หาก เป็นตัวอ่อนระยะบลาสโตซีสต้องตัดแบ่งในแนวที่ผ่านเซลล์ภายในที่เรียกว่า อินเนอร์เซลล์แมส (inner cell mass, ICM) ทั้งนี้เพราะ ตัวอ่อนระยะนี้เซลล์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปแล้ว (differentiation) แม้ว่าการโคลนสัตว์แบบการแยกเซลล์หรือการตัดแบ่งตัวอ่อน นี้มีข้อดีคือสามารถทำได้เร็ว ไม่ต้องมีขั้นตอนมากมาย แต่ก็มีข้อจำกัดคือไม่สามารถแบ่งตัวอ่อนได้มากตามจำนวนเซลล์
2. การย้ายฝากนิวเคลียส (nuclear transfer or nuclear transplantation)9-10
การย้ายฝากนิวเคลียสเป็นวิธีการที่ค่อนข้างจะซับซ้อน โดยมีรายละเอียดขั้นตอนโดยย่อคือ ก. เตรียมโอโอไซต์ตัวรับ (oocyte recipient preparation) ข. เตรียมนิวเคลียสจากตัวอ่อน ต้นแบบ (nuclear donor preparation) ค. ดูดเอานิวเคลียสตัวอ่อนให้ใส่ไปยัง ไซโตพลาสซึ่มของโอโอไซต์ (nuclear transfer) ง. เชื่อม นิวเคลียสให้ติดกับไซโตพลาสซึ่มของโอโอไซต์ (oocyte-nuclear fusion) จ. การเลี้ยงนำตัวอ่อน (embryo culture) และ ฉ. การย้ายฝากตัวอ่อน (embryo transfer

ผู้จัดทำ

ประวัติผู้จัดทำ
ด.ญ.สุวรรณา   เหมพลอย
อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3/1  
อายุ 14 ปี
เกิดวันที่20 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2539
โรงเรียนชุมชนบ้านพุเตย
อำเภอวิเชียรบุรี       จังหวัดเพชรบูรณ์